หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลการเรียน/การสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร

ผลการเรียน

การกำหนดผลการเรียนให้ใช้ระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชา ดังต่อไปนี้
4.0  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
3.5  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
3.0  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
2.5  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้
2.0  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์พอใช้
1.5  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อน
1.0  หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก
  0   หมายถึง   ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำ

การแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชา ให้ใช้ช่วงคะแนนการให้ระดับ ดังนี้

คะแนนร้อยละ   80 ขึ้นไป   ให้ระดับ   4
คะแนนร้อยละ   75-79       ให้ระดับ   3.5
คะแนนร้อยละ   70-74       ให้ระดับ   3
คะแนนร้อยละ   65-69       ให้ระดับ   2.5
คะแนนร้อยละ   60-64       ให้ระดับ   2
คะแนนร้อยละ   55-59       ให้ระดับ   1.5
คะแนนร้อยละ   50-54       ให้ระดับ   1
คะแนนร้อยละ     0-49       ให้ระดับ   0


การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

ผู้เรียนจะจบหลักสูตรได้ต้องผ่านเกณฑ์ ดังนี้
       1.  ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาสามัญ หมวดวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
       2.  ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบตามโครงสร้างของหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
       3.  ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
       4.  ต้องผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมเสริมหลักสูตร 200 ชั่วโมง 

การย้ายสถานที่พบกลุ่มฯ

การย้ายสถานที่พบกลุ่ม และย้ายสถานศึกษา

        1. การย้ายสถานที่พบกลุ่ม
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานที่พบกลุ่มต่อ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ที่ตนสมัครเป็นนักศึกษาอยู่
              - เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปพบกลุ่ม ณ สถานที่พบกลุ่มใหม่ได้
        2. การย้ายสถานศึกษา
              - ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องขอย้ายสถานศึกษา พร้อมแนบหลักฐานดังนี้
                    1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายแบบด่วนหรือรูปโพลาลอยด์)
                    2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริงมาแสดงด้วย
                    3. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ฉบับ
                    4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
                    5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย
              - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ออกใบระเบียนแสดงผลการเรียนให้นักศึกษา เพื่อนำไปแสดงต่อสถานศึกษาใหม่ที่จะไปเรียน

กำหนดวัน เปิด/ปิด ภาคเรียนและเวลาเรียน


        ในปีการศึกษาหนึ่ง แบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ดังนี้
        ภาคเรียนที่  1       วันเปิดภาคเรียน    วันที่      16  พฤษภาคม
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่      10  ตุลาคม
        ภาคเรียนที่  2       วันเปิดภาคเรียน    วันที่        1  พฤศจิกายน
                                   วันปิดภาคเรียน     วันที่        1  เมษายน

        หนึ่งภาคเรียนจะมี 20 สัปดาห์ นักศึกษาจะต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัดให้มีการพบกลุ่มจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบปลายภาค ระยะเวลาเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน


การยื่นคำร้องขอจบการศึกษา

        เมื่อผู้เรียนสอบผ่านเกณฑ์ที่ครบหมวดวิชาตามหลักสูตรแล้ว จะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาและขอรับใบประกาศนียบัตรที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ โดยนำหลักฐานต่อไปนี้ มาประกอบ
        1. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ – นามสกุล หลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายด่วนหรือโพลาลอยด์)
        2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบรบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริง มาแสดงด้วย
        3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
        4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
        5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา 1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย

ศักดิ์ สิทธิ์ และการนำไปใช้

        หลักฐานการเรียนหรือประกาศนียบัตรที่นักศึกษาได้รับจากการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนนี้ จะมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับการเรียนในระบบโรงเรียนตามปกติทุกประการ
ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นพื้นฐานปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเองให้ดียิ่งขึ้นหรือผู้ประสงค์จะเรียนต่อไประดับที่สูงขึ้น ก็สามารถนำหลักฐานการเรียนและใบประกาศนียบัตรไปใช้ศึกษาต่อในสถาบัน ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน

การจัดกระบวนการเรียนรู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้
      การจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดหนึ่งภาคเรียนนั้น มีกิจกรรมการเรียนรู้อยู่  4 กิจกรรม  ที่ครูจะต้องดำเนินการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ คือ การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) กิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวจะเกิดผลดีกับผู้เรียนได้นั้น ครูต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ฝึกนิสัยให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในแต่ละสัปดาห์ครูจะต้องกำหนดให้ผู้เรียนแต่ละคนใช้เวลาศึกษาเรียนรู้เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
      1. การพบกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
      2. การทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องโดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่มอบหมาย อย่างน้อย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์
      3. การทำโครงงาน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ รวมเวลาที่ใช้ในการพบกลุ่ม กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง โดยการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย และการทำโครงงานอย่างน้อย 21 ชั่วโมง/สัปดาห์
      4. การสอนเสริม โดยครูหรือวิทยากรตามที่วางแผนไว้
      5. การทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จำนวน 100 ชั่วโมง

สาระสำคัญของกิจกรรม มีดังนี้
  (คลิกเลือกหัวข้อที่ต้องการ)
   การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม
   การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง
   การจัดการเรียนรู้โดยการทำโครงงาน
   การสอนเสริม
   กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
   แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
       1) การวัดผลและประเมินผลการเรียนหมวดวิชา (กพช.)
       2) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์   3) การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน   4) การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)
       5) เกณฑ์การจบหลักสูตรทุกระดับ
       6) การประเมินคุณภาพการศึกษานอกโรงเรียนระดับชาติ    7) การเทียบโอนผลการเรียน 

1. การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม

       ในทุกสัปดาห์ครูจะต้องจัดให้มีการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกันโดยมีครู เป็นผู้อำนวยความสะดวก กระตุ้นเสริมแรง ให้คำปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะโดยใช้เวลาในการพบกลุ่มไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อทำกิจกรรม คือ
       1.1 การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย การจัดการเรียนรู้เช่นนี้ ให้นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งครูได้มอบหมายให้แต่ละคน ไปศึกษาค้นคว้าไว้ล่วงหน้าแล้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนต่างก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้ แก่กันและกัน
       1.2 การนำเสนอโครงงาน ผู้เรียนจะนำเสนอความคิด และความก้าวหน้าในการทำโครงงานต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถาม ให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการต่อยอดทางความคิดและนำไปสู่การพัฒนาโครงงานในสัปดาห์ต่อไป การนำเสนอโครงงานเช่นนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
       1.3 การสอบย่อย (Quiz) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา โดยครูและสถานศึกษา (กศน.อำเภอ/กศน.เขต) เป็นผู้จัดทำข้อทดสอบย่อย ในลักษณะ ถาม-ตอบ (Quiz) ให้ผู้เรียนตอบคำถาม เป็นข้อเขียนสั้น ๆ ซึ่งสรุปความคิดรวบยอด ที่เป็นความรู้ความเข้าใจของตัวผู้เรียนเอง
       1.4 จัดการเรียนการสอนตามสาระที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้ว โดยครูเป็นผู้สอนเพิ่มเติมความรู้หรือเนื้อหาสาระที่จำเป็นซึ่งนักศึกษายังไม่เข้าใจและต้องการจะเรียนรู้
       1.5 ฝึกกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากกลุ่ม จากสื่อ โดยครูเป็นผู้กระตุ้นและเสริมแรงให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาการพบกลุ่ม การแสดงออกของผู้เรียนที่มีหลายรูปแบบ เช่น การฟังอย่างตั้งใจในสิ่งที่มีผู้นำเสนอ ช่วยคิดตั้งคำถามให้คิด ร่วมอภิปราย ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
       1.6 วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน นัดหมายกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ เน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่จะนำเสนอสัปดาห์ต่อไป และกำหนดภารกิจสำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ ด้วย

สาระการเรียนรู้หมวดวิชา

สาระการเรียนรู้หมวดวิชา
หลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนประกอบด้วย 8 หมวดวิชา คือ กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน
หมวดวิชา ภาษาไทย
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาไทย ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การอ่าน
สาระที่ 2 การเขียน
สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด
สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา
สาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม


หมวดวิชา คณิตศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์


หมวดวิชา วิทยาศาสตร์
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
สาระที่ 5 พลังงาน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หมวดวิชา ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
กลุ่มหมวดวิชา ประสบการณ์


หมวดวิชา พัฒนาทักษะ 1 (สุขศึกษาและพลานามัย)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะ 1 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล
สาระที่ 4 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการป้องกันโรค
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต


หมวดวิชา พัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรี นาฏศิลป์)

สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
สาระที่ 2 ดนตรี
สาระที่ 3 นาฏศิลป์


หมวดวิชา พัฒนาสังคมและชุมชน
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ประกอบด้วย
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์


หมวดวิชา พัฒนาอาชีพ
สาระที่เป็นองค์ความรู้ของหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ประกอบด้วย
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
สาระที่ 2 การอาชีพ
สาระที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาระที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ

หลักฐานการเรียนรู้

หลักฐานการเรียนรู้
       หมายถึง การกำหนดชิ้นงาน ภาระงาน หรือลักษณะของชิ้นงาน ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละเรื่อง หรือแต่ละขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถนำไปสู่การประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ และสามารถทำได้ตามที่มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นการยืนยัน สร้างความมั่นใจให้กับครูว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ จริง หลักฐานการเรียนรู้ที่เป็นการแสดงผลการเรียนรู้ 1 อย่าง อาจจะตอบได้หลายเป้าหมายของการเรียนรู้ก็ได้ เนื่องจากเป็นหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจน
การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนนั้น ต้องเป็นหลักฐานที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วยวิธีการประเมินอย่างหลากหลาย และมีความต่อเนื่องจนจบสิ้นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากครูกำหนดให้ หรืออาจให้ผู้เรียนร่วมกันกำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้น เช่น บันทึกการฝึกทักษะ บันทึกการเรียนรู้ รายงาน แบบฝึกหัด โครงงาน แฟ้มสะสมงาน ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
       1. บันทึกการฝึกทักษะ หมายถึง ข้อความที่ผู้เรียนจดหรือบันทึกเกี่ยวกับทักษะ ภาระงานที่ได้รับการฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียนที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะในเรื่องดังกล่าว
       2. บันทึกการเรียนรู้ หมายถึง บันทึกที่ผู้เรียนจัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนรู้ทั้งในส่วนขององค์ความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

        บันทึกการเรียนรู้ อาจมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
          1. ปกหน้า
          2. ปกใน
          3. รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
              ประกอบด้วย
                3.1  ชื่อ-นามสกุล
                3.2  รหัสประจำตัวนักศึกษา
                3.3  ระดับชั้นที่กำลังศึกษา
                3.4  ศรช.ที่นักศึกษาสังกัด
                3.5  สถานศึกษาที่นักศึกษาสังกัด
          4. ส่วนบันทึกการเรียนรู้ ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
                4.1  สาระการเรียนรู้ และรายวิชาที่ศึกษา
                4.2  หัวข้อที่ศึกษา หรือที่ครูมอบหมายให้ศึกษา
                4.3  จุดประสงค์ที่ศึกษาในหัวข้อนั้น เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการตั้งจุดมุ่งหมายใน
การเรียนรู้ อันจะเป็นกรอบ หรือแนวทางการศึกษาในหัวข้อที่สนใจ และสามารถประเมินผลการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยเทียบกับจุดประสงค์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนตั้งไว้
                4.4  ขั้นตอนการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานอย่างมีระบบ และเพื่อฝึกการวางแผนการทำงาน การกำกับควบคุมตนเองและเวลาการทำงานให้สัมพันธ์กัน เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดประสงค์ และระยะเวลาที่วางไว้ ซึ่งในขั้นตอนการศึกษา ผู้เรียนจะต้องระบุรายละเอียดดังนี้
                     4.4.1  ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล ระบุว่ามีวิธีรวบรวม ข้อมูลอย่างไร เช่น ค้นหาเอกสารจากที่ใด หรือสอบถามผู้ใด จดบันทึกข้อมูลที่หาอย่างไร
                     4.4.2  ขั้นจัดการข้อมูล ระบุว่าข้อมูลที่ได้ ผู้เรียนมีการจัดแบ่งเนื้อหาเป็น หัวข้ออย่างไร นำข้อมูลมาใช้อย่างไร
                4.5  สรุปเนื้อหาที่เรียนรู้แบบย่อ โดยสรุปเนื้อหาสาระความรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้ตามหัวข้อที่ผู้เรียนจัดทำไว้
                4.6  ผลการเรียนรู้ ให้บอกถึงผลของการศึกษาค้นคว้าที่เกิดกับตัวผู้เรียน ในส่วนของความรู้และการพัฒนาตนเอง
                4.7  การนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ หรือในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้เรียนจะต้องระบุให้ชัดเจน หากเนื้อหาในเรื่องที่ศึกษาไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ หรือในชีวิตประจำวันได้ ก็ให้ระบุเหตุผลให้ชัดเจน
                4.8  ความคิดเห็นของครูประจำวิชา เป็นความคิดเห็นของครูต่องานที่ผู้เรียนจัดทำ ครูต้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในเชิงสร้างสรรค์ต่องานของผู้เรียน ครูต้องมีเหตุผลประกอบเพื่อให้ผู้เรียนได้ประโยชน์จากข้อคิดเห็นของครู ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงคุณค่าของการศึกษาค้นคว้า ครูจึงไม่ควรละเลยส่วนนี้ไป เพราะส่งผลต่อกำลังใจในการศึกษาเรียนรู้ของผู้เรียน


       3. การรายงาน   หมายถึง  การศึกษาค้นคว้า หาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หรือจากการทดลองการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ ของผู้เรียน ที่นำสารสนเทศดังกล่าวมาประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้ถูกต้องและเรียบเรียงอย่างมีแบบแผนที่กำหนด อาจศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือเป็นเรื่องที่ครูกำหนดให้ศึกษาค้นคว้า รายงานเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของการศึกษาในปัจจุบัน และถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการศึกษา การทำรายงานอาจทำเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ความยาวของรายงานขึ้นอยู่กับขอบเขตของหัวข้อรายงาน และระยะเวลาในการทำรายงา      

        ตัวอย่างขั้นตอนการทำรายงาน

           3.1.  หัวข้อเรื่อง อาจจะกำหนดโดยครู หรือผู้เรียนเลือกเอง หากเลือกเองควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ มีขอบเขตเนื้อหาไม่กว้างหรือแคบเกิน และคาดว่าจะมีแหล่งข้อมูลให้ค้นคว้าอย่างเพียงพอ จะช่วยให้การทำรายงานสนุกและได้ความรู้เพิ่มขึ้น ส่วนการตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งให้กะทัดรัด ครอบคลุมเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของรายงานที่ทำ
           3.2.  ค้นคว้าข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ซีดีที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ จะได้ความละเอียด แม่นยำ หลากหลายและทันสมัย
           3.3.  เรียบเรียงข้อมูล โดยวางโครงเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ตามลำดับ แบ่งเนื้อหาเป็นบท จากหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญมาก ตามด้วยหัวข้อย่อยที่มีความสำคัญรองลงมา จากนั้นจึงเขียนอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ
           3.4.  การทำเอกสารอ้างอิง อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้า เพื่อความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือของเนื้อหารายงาน
นอกจากทำรายงานแล้ว การนำเสนอหน้าชั้นก็มีความสำคัญ ต้องศึกษาเนื้อหาให้เข้าใจอาจจดหัวข้อสำคัญไว้ดูเผื่อลืม รวมทั้งฝึกซ้อมพูดก่อนนำเสนอจริง เพื่อความพร้อมและความสมบูรณ์ของงาน


       4. การทำแบบฝึกหัด   หมายถึง  สื่อการเรียนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะ ความรู้และความเข้าใจในบทเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนนั้น

       5. โครงงาน หมายถึง  การเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจของผู้เรียน ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลาย ๆ สิ่งที่สงสัยและต้องการรู้คำตอบให้ลึกซึ้ง ชัดเจน หรือต้องการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ความรู้หลาย ๆ ด้าน และทักษะกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีการวางแผนในการศึกษา และรับผิดชอบปฏิบัติตามแผน จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษา หรือคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างเป็นระบบ เรื่องที่จะทำโครงงานควรเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและสอดคล้องตามสาระการเรียนรู้ตามรายวิชานั้น
ขั้นตอนการทำโครงงานของผู้เรียน
           1. ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการทำโครงงานและผู้เรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงงาน
           2. ผู้เรียนและครูร่วมกันศึกษาหลักสูตร และวิเคราะห์สาระของรายวิชา
           3. ผู้เรียนเลือกหัวข้อในการทำโครงงานตามความสนใจ
           4. ผู้เรียนและครูร่วมกันจัดทำแผนการทำโครงงาน
           5. ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้า เอกสารและแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
           6. ผู้เรียนเขียนโครงร่างการทำโครงงานเพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อครู โดยครูต้องวิเคราะห์โครงร่างให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระรายวิชา หากไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาระรายวิชาดังกล่าว ครูต้องสอนเสริมและให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
           7. ผู้เรียนจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการการทำโครงงาน (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร)
           8. ผู้เรียนปฏิบัติตามแผน โดยมีการจดบันทึกผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและนำเสนอความก้าวหน้า ผู้เรียนและครูร่วมกันประเมินผลการทำโครงงานเป็นระยะ ตามแผนปฏิบัติการ
           9. ผู้เรียนเขียนรายงานสรุปผลการทำโครงงาน
         10. ผู้เรียนนำเสนอผลการทำโครงงานต่อสาธารณะ โดยใช้สื่อเทคโนโลยี นิทรรศการและสื่ออื่น ๆ ตามความเหมาะสม
         11. ผู้เรียนและครูร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้แบบโครงงาน

        
เกณฑ์การประเมินโครงงาน พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้
           1. ความสามารถในการทำโครงงาน
                 - การเลือกหัวข้อเรื่องในการทำโครงงาน
                  - ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                 - โครงงานที่ทำเป็นงานใหม่ หรือศึกษาเพิ่มเติมจากของเดิม
           2. ความสามารถในการดำเนินการทำโครงงาน
                 - ด้านเนื้อหาของโครงงาน
                        ถูกต้องตามหลักการความเป็นจริง
                        มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                        เลือกใช้แหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้
                        สรุปความรู้ชัดเจนตรงตามจุดประสงค์
                 - ด้านทักษะกระบวนการ
                        มีทักษะกระบวนการคิดในการแก้ปัญหา
                        ศึกษาปัญหา ทำความเข้าใจกับปัญหา
                        วางแผนอย่างเป็นระบบ
                        ดำเนินการตามแผนครบทุกขั้นตอน
                        ประเมินและปรับปรุงการดำเนินการได้เหมาะสม
                        มีทักษะกระบวนการคิดและการสื่อสาร
                        มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้
                        มีการเขียนรายงานผลการทำโครงงานถูกต้องและสื่อความหมายได้ชัดเจน
           3. ความสามารถในการนำเสนอโครงงาน
                        แนวคิดและวิธีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ
                        ข้อสรุปของโครงงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                        ข้อมูลสมบูรณ์และชัดเจน
                        รูปแบบนำเสนอเหมาะสม
           4. ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของรายวิชา
                        บรรลุตัวชี้วัดของรายวิชา
               ตัวอย่างหัวข้อการเขียนโครงงาน
                      1.   ชื่อโครงงาน
                      2.   หลักการและเหตุผล
                      3.   วัตถุประสงค์
                      4.   เป้าหมาย
                      5.   ขอบเขตของการศึกษา
                      6.   วิธีดำเนินงานและรายละเอียดของแผน
                      7.   ระยะเวลาดำเนินงาน
                      8.   งบประมาณ
                      9.   ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                     10.  ชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน
                     11.  ชื่อครูที่ปรึกษา
       6. แฟ้มสะสมงาน หมายถึง สิ่งที่เก็บรวบรวมตัวอย่าง หรือ หลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ความพยายาม ความถนัดของบุคคลหรือ ประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้อย่างเป็นระบบในการจัดทำแฟ้มสะสมงานมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อให้เจ้าของแฟ้มได้ประเมินตนเองว่า ผลการเรียนรู้หรืองานที่ทำเป็นอย่างไร ประสบผลสำเร็จในระดับใด มีระบบหรือไม่ ควรจะปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร
2. เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ประเมินเจ้าของแฟ้มว่า มีความสามารถในการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร ประสบความสำเร็จในระดับใด ควรจะได้รับการช่วยเหลือหรือพัฒนาหรือไม่อย่างไร
        องค์ประกอบสำคัญของแฟ้มสะสมผลงาน มีดังนี้
           1. ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก ข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียน ข้อมูลผลการเรียน สารบัญ
           2. ส่วนเนื้อหาของแฟ้มสะสมงาน เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของผลงานและความคิดเห็นของตนเองต่อผลงานที่ได้เลือก อาจจัดจำแนกตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ หรือลักษณะธรรมชาติของงานก็ได้

           3. เกณฑ์การตัดสินผลงาน ผลการประเมินครู ของตนเอง และของเพื่อนรวมทั้งภาคผนวก(ถ้ามี)
       7. การสอบ หมายถึง  การประเมินหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้า ทั้งด้านความรู้
ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ อันเป็นผลเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ เพียงใด ซึ่งต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีการจัดการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้

วิธีการจัดการเรียนรู้
         วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ “วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น          -   การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม         -   การเรียนรู้ด้วยตนเอง         -   การเรียนรู้แบบทางไกล         -   การเรียนรู้แบบชั้นเรียน         -   การเรียนรู้แบบอื่นๆ         ซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย
    1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
         เป็นการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนมาพบกันโดยมีครูเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้มีการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาข้อสรุปร่วมกันทุกสัปดาห์ ครูจะต้องจัดให้มีการพบกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก ใช้เวลาในการพบกลุ่มอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
            จัดพบกลุ่มในรายวิชาที่ยากปานกลาง            น้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับครู            ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้างานเดี่ยว งานกลุ่ม ทำโครงงาน            ครูจัดกระบวนการกลุ่มที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และสอดแทรกกระบวนการคิดเป็นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ในแต่ละรายวิชาที่เชื่อมโยงสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและอาจสอนเพิ่มเติมในบางเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ            มีการสอบย่อย (QUIZ)            พบกลุ่มสัปดาห์ละ 3 ชม. เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าสามารถจัดเวลาพบกลุ่มได้มากขึ้นจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง
         การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม ควรดำเนินการ ดังนี้         1). การนำเสนอผลจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหรืองานกลุ่มโดยผู้เรียน ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายจากการพบกลุ่มสัปดาห์ที่แล้ว ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และสรุปองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู         2). การจัดการเรียนการสอนตามสาระการเรียนรู้ที่ได้วางแผนร่วมกันไว้แล้วระหว่างครูและผู้เรียน โดยครูเป็นผู้จัดกระบวนเรียนรู้ เพิ่มเติมความรู้หรือเนื้อหาสาระที่จำเป็น ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจและต้องการจะเรียนรู้ โดยอาจสอนเพิ่มเติมในบางเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ หรือจัดสอนเสริมนอกเหนือจากเวลาพบกลุ่ม (โดยเฉพาะในเนื้อหายากที่ผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์)         3). การนำเสนอโครงงาน โดยผู้เรียนนำเสนอความคิด และความก้าวหน้าในการทำโครงงานต่อกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถามให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการต่อยอดทางความคิดและนำไปสู่การพัฒนาโครงงานในสัปดาห์ต่อไป การนำเสนอโครงงานเช่นนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่พบกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน         4). การสอบย่อย (QUIZ) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจสาระเนื้อหา โดยครูและสถานศึกษาเป็นผู้จัดทำข้อทดสอบย่อย ในลักษณะ ถาม-ตอบ (QUIZ) ให้ผู้เรียนตอบคำถามแบบเขียนสั้น ๆ ในลักษณะการสรุปความคิดรวบยอด ที่เป็นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชานั้น ของตัวผู้เรียนเอง         5). การฝึกกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ “คิดเป็น” ให้ผู้เรียนฝึกคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อ เช่น สถานการณ์จริง ข่าว นสพ.บทความ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาที่กำลังเรียนรู้ ครูทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้น เสริมแรง ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้ผู้เรียนทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันตลอดช่วงเวลาการพบกลุ่ม โดยครูควรตั้งคำถามปลายเปิดให้ผู้เรียนได้คิด ร่วมอภิปรายเพื่อหาคำตอบจากประเด็นปัญหา และพยายามเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้จากรายวิชานั้นเข้าสู่วิถีชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นประโยชน์จากการมาพบกลุ่ม          6). การฝึกให้ผู้เรียนได้แสดงออกเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ เช่น การนำเสนองานประกอบการใช้สื่อ การฝึกพูดในโอกาสต่าง ๆ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง การฟังและการจับประเด็นสำคัญ การพูด/การเขียนเพื่อสรุปใจความสำคัญ ฯลฯ         7). การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นการกำหนดข้อตกลงร่วมกันในกลุ่มการนัดหมายกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนต้องทำระหว่างสัปดาห์ รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจะต้องเน้นย้ำให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าตามแผนการเรียนรู้ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ โดยเน้นเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่จะมานำเสนอสัปดาห์ต่อไป และกำหนดภารกิจสำหรับผู้เรียนคนอื่น ๆ ด้วย         8). การติดตามและช่วยเหลือ อาจใช้กระบวนการติดตามช่วยเหลือโดยเพื่อน กลุ่มเพื่อนจัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือใช้ระบบหัวหน้ากลุ่มผู้เรียน
     2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
         ป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้ของตนเองให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน โดยระบุว่ากระบวนการเรียนรู้แต่ละครั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร เรียนรู้ด้วยวิธีการใด มีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบอย่างไร และมีครูเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการศึกษาหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ
        ลักษณะของผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
         1. มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ได้เกิดจากการบังคับ         2. ใช้ตนเองเป็นแหล่งข้อมูล นั่นคือผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนจะเรียนคืออะไร รู้ว่าทักษะและข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง สามารถกำหนดเป้าหมาย วิธีการรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้ถึงความสามารถของตนเอง ตัดสินใจได้ มีการรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทในการเป็นผู้เรียนที่ดี         3. รู้ “วิธีการที่จะเรียน” นั่นคือ ผู้เรียนควรทราบขั้นตอนในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าจะไปสู่จุดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร         4. มีบุคลิกภาพเชิงบวก มีแรงจูงใจ และการเรียนแบบร่วมมือกับเพื่อนหรือบุคคลอื่น         5. มีระบบการเรียน รู้จักประยุกต์การเรียนและสนุกสนานกับกระบวนการเรียน         6. มีการเรียนจากข้อผิดพลาดและความสำเร็จ มีการประเมินตนเองและเข้าใจถึงศักยภาพของตนเอง         7. มีความพยายามในการหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อหาคำตอบ รู้จักประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนไปใช้กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล และหาโอกาสในการพัฒนา ค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา         8. มีการชี้แนะ การอภิปรายในห้องเรียน การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวและการแสดงความเห็นที่แตกต่างไปจากผู้สอน         9. มีการรวบรวมข้อมูลจากการได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคลและมีวิธีการนำข้อมูลที่ได้
ไปใช้
         ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
            ผู้เรียนมีความสมัครใจ มีความพร้อม ศึกษาวิธีการเรียนให้เข้าใจขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบ            ผู้เรียนกำหนดแผนการเรียนรู้รายบุคคลให้สอดคล้องกับรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน            ผู้เรียนกำหนดสื่อที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น เอกสารแบบเรียน ชุดการสอน ผู้รู้ โทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ซีดี แหล่งเรียนรู้ เพื่อนเรียนรู้ ฯลฯ            จัดทำสัญญาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างครูกับผู้เรียน            พบครู ให้คำปรึกษา แนะนำในการเรียน ประมาณ 2-4 ครั้ง/ภาคเรียน            สถานศึกษาและครูมีบทบาทในการจัดเตรียม อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือแนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
         การเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรดำเนินการ ดังนี้
         1). การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการในการเรียนรู้ โดยผู้เรียนควรคำนึงถึงความต้องการและความสนใจของตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะเรียน         2). การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยผู้เรียนศึกษาจุดมุ่งหมายของรายวิชาแล้วเขียนจุดมุ่งหมายในการเรียน จุดมุ่งหมายควรเน้นถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนคาดหวังว่าจะเกิดขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายที่สามารถวัดได้ และจุดมุ่งหมายของผู้เรียนในแต่ละระดับควรมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด         3). การวางแผนการเรียน โดยให้ผู้เรียนกำหนดแนวทางการเรียนของตนเองขึ้นมาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชา กำหนดเวลาการเรียน โดยกำหนดปริมาณเวลา(จำนวนชั่วโมง/จำนวนครั้ง) ที่ต้องการพบครูเพื่อขอคำปรึกษาแนะนำหรือให้ครูสอน กำหนดเวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้เรียนคนอื่น กำหนดเวลาที่ต้องการเรียนด้วยตนเอง พร้อมทั้งกำหนดว่ากิจกรรมการเรียนจะสิ้นสุดเมื่อใด         4). การเลือกรูปแบบการเรียน/กิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง/แหล่งวิทยากร/สื่อที่จะใช้ในการเรียนด้วยตนเอง เช่น อ่านหนังสือประกอบ ดูวีซีดี ศึกษาจากสื่อคอมพิวเตอร์ ศึกษาจากผู้รู้ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด วัด สถานีอนามัย         5). การกำหนดบทบาทของผู้ช่วยเหลือในการเรียน เนื่องจากบางครั้งผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น เพื่อนร่วมเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน         6). การกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียน ควรเป็นการประเมินผลร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน โดยครูและผู้เรียนร่วมกันตั้งเกณฑ์การประเมินผลร่วมกัน เลือกประเภทของการทดสอบ ลักษณะของการ Feedback ที่จะใช้
        การจัดทำสัญญาการเรียนรู้
         ในการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมาย คือ ผู้เรียนต้องมีการจัดทำข้อตกลงการเรียน หรือ สัญญาการเรียน ของตนเองให้ไว้กับครู เพื่อที่ครูจะได้ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนแต่ละคน
สัญญาการเรียน (Learning Contact) คือ ข้อตกลงที่ผู้เรียนได้ทำไว้กับครู ว่าเขาต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างในการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ในสัญญาการเรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้เขียนเองโดยระบุว่า ต้องการเรียนเรื่องอะไร จะวัดว่าได้บรรลุตามความมุ่งหมายแล้วหรือไม่ อย่างไร มีหลักฐานการเรียนรู้อะไรบ้างที่บ่งบอกถึงผลการเรียนของผู้เรียนว่าผลการเรียนเป็นอย่างไร เมื่อเขียนเสร็จแล้วสำเนาส่งให้ครูเก็บไว้ 1 ชุด เพื่อติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนแต่ละคน
แบบฟอร์มหรือตารางของการเขียนสัญญาการเรียน อาจประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
         1). จุดมุ่งหมาย เป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนต้องการบรรลุผลสำเร็จในเรื่องอะไร อย่างไร         2). แหล่งวิทยาการ/วิธีการเป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างไรจากแหล่งความรู้ใด         3). หลักฐาน เป็นส่วนที่มีสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันเป็นรูปธรรม ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้แล้ว โดยเก็บรวบรวมเป็นแฟ้มสะสมงาน         4). การประเมินผล เป็นส่วนที่ระบุว่า ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ในระดับใด
     3. การเรียนรู้แบบทางไกล
         เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ โดยผู้เรียนและครูจะสื่อสารกันทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์เป็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ e-learning
       ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบทางไกล
         1. ผู้เรียนต้องมีเครื่องมือที่สามารถสื่อสาร และใช้อุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิกส์ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ฯลฯ         2. มีเวลาสื่อสารทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ กับครูตามเวลาที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน เช่น Chat room, E-mail, Web board, Blog, facebook ฯลฯ         3. สถานศึกษาและครูมีบทบาทในการจัดเตรียมสื่อทางไกล หรือ อำนวยความสะดวกให้ความช่วยเหลือ แนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้แบบทางไกลได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
         การเรียนรู้แบบทางไกล ควรดำเนินการ ดังนี้
            การศึกษาแนวทางการเรียนรู้แบบทางไกลจากสื่อต่าง ๆ            การเรียนรู้จากสื่อทางไกลตามที่สถานศึกษากำหนด            การประเมินความรู้ก่อนเรียนของตนเอง            การศึกษาเนื้อหาสาระจากสื่อต่าง ๆ และส่งงานตามที่กำหนด            การสื่อสารกับครูตามเวลาที่กำหนด เพื่อซักถาม นัดหมาย ขอคำปรึกษา ฯลฯ            การประเมินความรู้หลังเรียนของตนเอง
     4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
          เป็นการเรียนรู้ในลักษณะแบบห้องเรียน ที่สถานศึกษากำหนดรายวิชา เวลาเรียน และสถานที่ที่ชัดเจน ซึ่งการจัดการเรียนรู้นี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีเวลาเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอ

        
ข้อควรคำนึงในการเรียนรู้แบบชั้นเรียน
         1. สถานศึกษากำหนดสถานที่เรียน ตารางเรียนที่เหมาะสม         2. มีการประชาสัมพันธ์สถานที่ วัน เวลา ครูผู้สอน ให้ผู้เรียนทราบทั่วกัน         3. สถานศึกษาจัดหาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนเช่น เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ โสตทัศนูปกรณ์ ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการเรียนรู้แบบชั้นเรียน         4. ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าชั้นเรียนตามที่กำหนดในตารางเรียน

        
การจัดกระบวนการเรียนรู้ 
         1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีครู/ผู้รู้/ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา ในการถ่ายทอดเนื้อหาของครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม แสดงความคิดเห็นได้ โดยเพิ่มการเขียนถาม/ตอบ หลังการบรรยาย รวมทั้งมีการจัดโอกาสให้ฝึกในห้องปฏิบัติการ และจัดเวลาการให้คำปรึกษา         2. การจัดกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครู และผู้เรียนกับผู้เรียน โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบพร้อมกับใช้กิจกรรมลักษณะที่เน้นการสื่อสาร เช่น กิจกรรมคู่ กิจกรรมกลุ่ม และการจัดที่นั่งในชั้นเรียนต้องเหมาะสม เอื้อต่อการดำเนินกิจกรรม         3. การจัดให้มีการปรับบทบาทผู้เรียน ใช้การแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ โดยที่แต่ละกลุ่มจะได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอนครูจะสอดแทรกกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ กิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนได้รับข้อมูล/ข้อเท็จจริง กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการได้ลงมือปฏิบัติ/สังเกต และกิจกรรมการสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและครู         4. การติดตามและช่วยเหลือผู้เรียน โดยอาจใช้กระบวนการติดตามช่วยเหลือโดยเพื่อน/กลุ่มเพื่อน จัดให้มีการปรึกษาหารือกันระหว่างครูกับผู้เรียน ใช้ผู้ช่วยสอน ใช้ระบบหัวหน้ากลุ่มผู้เรียน ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ใช้การเรียนแบบทีม ใช้ e-mail, discussion boards และ internet เป็นต้น         การเรียนรู้แบบต่าง ๆ  ดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนด โดยในแต่ละรายวิชาจะเลือกการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งหรือหลายแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาในรายวิชานั้น ๆ โดยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทำงานของผู้เรียน รวมทั้งขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย และสถานศึกษาสามารถจัดให้มีการสอนเสริมได้ในทุกรูปแบบการเรียนรู้ เพิ่มเติมเต็มความรู้ให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้